เช็ก 5 ธนาคาร ปรับปรุงระบบชั่วคราว 8-10 เม.ย.นี้ วันไหน-เวลาอะไรบ้าง ดูที่นี่

เช็ก 5 ธนาคาร ปรับปรุงระบบชั่วคราว 8-10 เม.ย.นี้ วันไหน-เวลาอะไรบ้าง ดูที่นี่

เช็คให้ชัวร์ 5 แอปฯ ธนาคารที่เตรียมปิดปรับปรุงระบบชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 8-10 เม.ย. 65 วันไหน-เวลาอะไร ตรวจสอบรายละเอียดทั้งหมด ได้ที่นี่ เนื่องจากในช่วงวันที่ 8-10 เม.ย. 65 แอปพลิเคชั่นของธนาคารทั้งหมด 5 แอปฯ ได้แก่ ไทยพาณิชย์, กสิกรไทย, กรุงไทย, ออมสิน และกรุงเทพ เตรียมปิดปรับปรุงระบบชั่วคราว โดยมีรายละเอียดช่วงเวลาและวันที่จะทำการปิดปรับปรุงระบบ ดังนี้

ธนาคารไทยพาณิชย์ ปิดปรับปรุงแอปฯ แม่มณี

วันศุกร์ที่ 8 เม.ย. 65 เวลา 23.00 – 24.00 น.

วันเสาร์ที่ 9 เม.ย. 65 เวลา 00.00 – 06.00 น.

 ธนาคารกรุงเทพ ปิดพัฒนาระบบ Mobile Banking

วันเสาร์ที่ 9 เม.ย. 65 เวลา 02.00 – 07.00 น.

ธนาคารกรุงไทย อัปเดตแอปเป๋าตัง

วันเสาร์ที่ 9 เม.ย. 65 เวลา 00.40 – 06.10 น.

ธนาคารกสิกรไทย ปิดปรับปรุงระบบชั่วคราว

วันเสาร์ที่ 9 เม.ย. 65 เวลา 02.30 น. – 08.00 น.

ธนาคารออมสิน ปิดระบบโอนเงินด่วนระหว่างประเทศ

วันอาทิตย์ที่ 10 เม.ย. 65 เวลา 13.00 – 16.00 น.

ที่มา : FB ธนาคารไทยพาณิชย์ , ธนาคารกรุงเทพ , ธนาคารกรุงไทย , ธนาคารกสิกรไทย , ธนาคารออมสิน

นอกจากแคมเปญดังกล่าวแล้ว กฟผ. ยังได้บริหารจัดการเชื้อเพลิงอื่นในการผลิตไฟฟ้าอย่างเต็มความสามารถ เพื่อทดแทนการใช้ก๊าซธรรมชาติ (LNG) ที่มีราคาสูง อาทิ ปรับการเดินเครื่องโดยใช้น้ำมันเตาและน้ำมันดีเซลแทนก๊าซฯ เพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงถ่านหิน เพื่อลดผลกระทบค่าไฟฟ้าของประชาชนและรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าในประเทศอย่างเพียงพอ

ความไม่แน่นอนของแหล่งก๊าซธรรมชาติในประเทศและในพม่า รวมทั้งสภาวะตลาดที่ไม่เอื้อต่อการเจรจาสัญญา LNG ทำให้ กกพ. ต้องเตรียมความพร้อมเพื่อใช้เชื้อเพลิงสำรอง เช่น น้ำมันเตา น้ำมันดีเซล หรือเชื้อเพลิงประเภทอื่น เช่น ถ่านหิน พลังน้ำ และพลังงานทดแทน

เพื่อรองรับสถานการณ์ขาดแคลนก๊าซธรรมชาติ ซึ่งจะเป็นสถานการณ์ต่อเนื่องจากปลายปี 2565 และต่อเนื่องไปตลอดปี 2566 ตามแนวทางการบริหารเชื้อเพลิงในสภาวะวิกฤตที่ได้เสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ไปแล้ว

สรุป วิธีแลกหุ้น SCB เป็น SCBX ทำอย่างไร มีอะไรต้องรู้บ้าง จำเป็นต้องทำไหม?

เปิดเคล็ดลับ วิธีแลกหุ้น SCB เป็น SCBX หลังจากที่ ไทยพาณิชย์ เดินหน้าปรับโครงสร้างกลุ่มธุรกิจทางการเงินและโครงสร้างการถือหุ้น ล่าสุดยานแม่อย่าง เอสซีบี เอกซ์ SCBX ได้ประกาศทำคำเสนอซื้อ หรือ Tender Offer หุ้นทั้งหมดของธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) กับผู้ถือหุ้นของ SCB เพื่อแลกกับหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่ออกใหม่ของ SCBX โดยได้เริ่มการแลกหุ้นตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม 65 และจะสิ้นสุดในวันที่ 18 เมษายน 65 เพื่อเตรียมนำ SCBX เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเพิกถอนหุ้นของธนาคารไทยพาณิชย์ออกจากตลาดในวันเดียวกัน วันนี้ The Thaiger จึงรวม วิธีแลกหุ้น SCB ไป SCBX หนึ่งในกระบวนการที่สำคัญในการปรับโครงสร้างทางธุรกิจของกลุ่มไทยพาณิชย์

กระบวนการแลกหุ้นในครั้งนี้ SCBx จะออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน เพื่อแลกเปลี่ยนกับหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิของธนาคารในอัตราดังต่อไปนี้

1 หุ้นสามัญของ SCB ต่อ 1 หุ้นสามัญของ SCBX

1 หุ้นบุริมสิทธิของ SCB ต่อ 1 หุ้นสามัญของ SCBX

สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจกันก่อนเลยก็คือ การแลกหุ้นดังกล่าวจะ “ไม่ได้เป็นไปโดยอัตโนมัติ” โดยผู้ถือหุ้นของ SCB ต้องทำการ “ตอบรับ” คำเสนอซื้อหลักทรัพย์แล้วเท่านั้น จึงจะสามารถแลกหุ้นได้ เมื่อกระบวนการแลกหุ้นแล้วเสร็จ (คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือน เม.ย. 65) และเมื่อผู้ถือหุ้น SCB ตอบรับคำเสนอซื้อมีจำนวนไม่น้อยกว่า 90% ของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของ SCB หุ้น “SCBX” จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยจะยังใช้ชื่อย่อหลักทรัพย์ “SCB” เช่นเดิม และผู้ถือหุ้น SCB ที่ได้ทำการแลกหุ้นได้สมบูรณ์ตามกำหนดเวลาจะเปลี่ยนเป็นผู้ถือหุ้น SCBX แทน

กรณีที่ผู้ถือหุ้นของ SCB ไม่ได้ตอบรับคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ในเวลาที่กำหนด 9yh’c9j 2 มีนาคม – 18 เมษายน 2565 จะยังคงเป็นผู้ถือหุ้นของ SCB ต่อไป โดยผู้ถือหุ้นจะอยู่ในฐานะผู้ถือหุ้น SCB ที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่มีสิทธิในหุ้น SCBX ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ เนื่องจากหลักทรัพย์ของธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) จะถูกเพิกถอนจากตลาดหลักทรัพย์ในวันที่หลักทรัพย์ของ SCBX เข้าจดทะเบียนนั่นเอง

เปิดขั้นตอน วิธีแลกหุ้น SCB ไป SCBX ทำอย่างไรบ้าง ? ระยะเวลาตอบรับซื้อ สามามรถทำได้ตั้งแต่เวลา 9.00 น. ถึง 16.00 น. ของ วันที่ 2 มีนาคม 2565 ถึง วันที่ 18 เมษายน 2565 (เฉพาะวันทำการ) หรือระยะเวลาทำการของแต่ละช่องทางรับยื่นแบบตอบรับคำเสนอซื้อ รวมทั้งสิ้น 30 วันทำการ ซึ่งระยะเวลาดังกล่าวอาจขยายเวลารับซื้อได้อีก โดยสามารถทำตามในกรณีต่าง ๆ ดังนี้

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป