วอลมาร์ต ถอด กะทิชาวเกาะ ออกจากร้านค้า เหตุจากกรณีใช้แรงงานลิง

วอลมาร์ต ถอด กะทิชาวเกาะ ออกจากร้านค้า เหตุจากกรณีใช้แรงงานลิง

วอลมาร์ต (Walmart) ร้านนค้าสะดวกซื้อชื่อดังของอเมริกา ทำการงดจำหน่าย กะทิชาวเกาะ หลังจากได้รับการร้องเรียนถึงการใช้แรงงานลิงโดย PETA  เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2565 วอลมาร์ต (Walmart) ร้านนค้าสะดวกซื้อชื่อดังของอเมริกา ได้ทำการประกาศถึงงดวางขายผลิตภัณฑ์กะทิสำเร็จตรา ชาวเกาะ (กะทิชาวเกาะ) ทั้งในรูปแบบร้านค้าปกติ และออนไลน์ ภายหลังจากที่ได้รับผลการสอบสวนจาก PETA ถึงการการใช้แรงงานลิงเป็นส่วนหนึ่งของการผลิต

ด้วยการดำเนินการดังกล่าวนั้น 

ทำให้วอลมาร์ตเป็นร้านค้าปลีกล่าสุดต่อจาก Kroger, Costco, Target, Wegmans, Walgreens และ Stop & Shop ที่ยุติการจำหน่ายทุกช่องทาง ซึ่งทางวอลมาร์ตได้รับจดหมายเรียกให้ยุติการจำหน่ายเป็นจำนวนถึง 86,000 ฉบับ

ในส่วนของรายงานจากทาง PETA นั้น ก็ได้อธิบายไว้ว่า ภายในกระบวนการผลิตของ บริษัท เทพผดุงพรมะพร้าว จำกัด เจ้าแบรนด์ชาวเกาะ ได้มีการใช้งานแรงงานสัตว์ โดยในที่นี่ก็คือ ลิง ที่มีการล่ามโซ่ และใช้งานในการเก็บลูกมะพร้าวเหมือนกับเครื่องจักรเก็บลูกมะพร้าว ทำให้ลิงนั้นขาดการปฏิบัติตัว และเข้าสังคมสัตว์ตามธรรมชาติ

โดยในเวลานี้ ร้านค้าจำนวน 45,000 ร้าน ได้เริ่มตัดขาดการจำหน่ายกะทิชาวเกาะแล้ว ซึ่งทาง PETA ได้กล่าวว่า องค์กรนั้นจะดำเนินการเพื่อเพิ่มจำนวนของร้านค้ายกเลิกจำหน่ายให้มากขึ้น

ระหว่างการพูดคุยกัน เมกุริ เล่าว่า กว่าพ่อแม่จะรู้ ก็เป็นตอนที่เธอเดบิวต์เข้าวงการมานานกว่า 1 ปีแล้ว โดยจู่ ๆ เธอก็ได้รับโทรศัพท์จากแม่ ถามว่า “ตอนนี้ลูกทำงานอะไรอยู่ ทำไมแม่เห็นลูกในร้านสะดวกซื้อ”

ในตอนแรกที่แม่ของ เมกุริ โทรมาถาม เธอยอมรับตรง ๆ เลยว่าครั้งแรกเธองงมาก ก่อนที่แม่จะอธิบายเพิ่มเติมว่าพบเธอบนปกนิตยสาร ก่อนที่เธอจะร้องอ๋อ เพราะที่แท้เธอก็เคยถ่ายแบบนิตยสารสำหรับผู้ใหญ่มาก่อนนี่เอง แต่นิตสารเจ้ากรรมดันไปวางอยู่ในห้องน้ำซุปเปอร์มาร์เก็ตที่แม่เธอเข้าซะได้

โดยเมกุริ ได้บอกว่าตอนนั้น แม่ของเธอโกรธมาก ทำให้เธอต้องพาประธานบริษัืต้นสังกัดของเธอเข้าพบพ่อและแม่ถึงบ้าน เพื่อให้เขานั้นได้อธิบาย และโน้มน้าวคนเป็นพ่อแม่ จนทั้งสองเริ่มเปิดใจและยอมรับได้ในที่สุด หลังจากนั้นพ่อแม่ของ เมกุรอ ก็คอยให้กำลังใจเธออยู่เสมอมา

สวนสัตว์ ประจำเมืองอามาริลโล รัฐเท็กซัส อเมริกา ได้เผยแพร่ ภาพวงจรปิด ที่ปรากฏภาพปริศนา และชวนให้คิดได้หลายอย่างว่าที่ปรากฏออกมานั้น คืออะไรกันแน่ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 บัญชี Twitter – CityofAmarillo (@CityofAmarillo) ได้ทำการเปิดเผย ภาพวงจรปิด ที่พบจาก สวนสัตว์ ประจำเมืองอามาริลโล รัฐเท็กซัส อเมริกา โดยบนภาพได้ปรากฎสัตว์ปริศนาที่สร้างข้อสงสัย และคำถามเป็นอย่างยิ่ง

โดยรายละเอียดนั้น ภาพวงจรปิดดังกล่าวได้ทำการจับภาพเมื่อช่วงเวลาเช้ามือของวันที่ 21 พ.ค. 2565 ซึ่งปรากฏตัวของสิ่งมีชีวิตที่ดูเหมือนจะยืนสองขา และมีลักษณะคล้ายคลึงกับมนุษย์ ทำให้ทาง CityofAmarillo ได้มีการหยอดไปว่า มันอาจจะเป็นคนแต่งตัวประหลาดออกมาเดินตอนกลางคืน หรือสิ่งมีชีวิตในตำนานที่ยังพิสูจน์ไม่ได้อย่างชูปาคาบร้าก็เป็นได้

โดยผู้ใช้งานทวิตเตอร์หลายรายได้แสดงความเห็นต่าง ๆ นานากันไป บ้างก็ว่าเป็นภาพปลอม บ้างก็ว่าเป็นสัตว์ประหลาด แต่ที่ดูเข้าท่ามากที่สุดก็คือที่ว่า มันคือภาพการกระโดดของหมาป่าโคโยตี้ ที่ซึ่งพอจะอธิบายได้ และอย่างที่กล่าวไปเข้าท่า และเป็นไปได้มากที่สุด

นอกเหนือจากการอธิบายแล้วนั้น ภาพนี้ยังได้ก่อให้เกิดภาพวาดล้อเลียน และการหยอกล้อต่าง ๆ อีกด้วยเช่นกัน ถือว่าเป็นภาพปริศนาที่สร้างความบันเทิงให้ได้เป็นอย่างมากเลยทีเดียว

ข่าวWHO หารือ เปลี่ยนชื่อฝีดาษลิง เลี่ยงตีตราสัตว์หรือภูมิภาค

WHO เตรียมหารือ เปลี่ยนชื่อฝีดาษลิง เลี่ยงตีตราสัตว์หรือภูมิภาค และสร้างผลกระทบแง่ลบให้น้อยที่สุดเท่าที่ทำได้ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน สำนักข่าว บลูมเบิร์ก รายงานว่าองค์การอนามัยโลกหรือ WHO ได้รายงานว่าทางองค์การกำลังหารือเปลี่ยนชื่อฝีดาษลิง (Monkeypox) หลังจากที่นักวิทยาศาสตร์จาก 30 ประเทศ มองว่าชื่อฝีดาษลิงนั้นไม่เข้ากับกฎระเบียบตั้งชื่อของทาง WHO

โดยนักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้ระบุในจดหมายว่า “ในบริบทของการแพร่ระบาดที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลกนี้ การที่ยังคงตั้งชื่อไวรัสดังกล่าวให้สื่อว่ามีต้นกำเนิดจากแอฟริกานอกจากจะเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องแล้ว ยังเป็นการเลือกปฏิบัติและตีตราอีกด้วย”

ซึ่งทางโฆษกของ WHO ชี้ว่ากฎระเบียบดังกล่าว ระบุว่าให้เลี่ยงในการตั้งชื่อตามภูมิภาคหรือสัตว์ โดยโฆษกระบุอีกด้วยว่าพวกเขาเตรียมจะลดผลกระทบแง่ลบให้น้อยที่สุดเท่าที่ทำได้ และเลี่ยงดูหมิ่น วัฒนธรรม สังคม ชาติ ภูมิภาค บุคคล สัตว์ และ อาชีพ

อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ครั้งนี้คล้ายคลึงกับช่วงที่โรคโควิด-19 ระบาดใหม่ๆ หลังจากที่ในช่วงนั้นเริ่มมีประชาชนเรียก เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 ว่า ไวรัสอู่ฮั่น หรือ ไวรัสจีน ทำให้ทาง WHO รีบตั้งชื่อโควิด-19 เพื่อป้องกันการเหยียดชนชาติขึ้น

ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงนอกเหนือในทวีปแอฟริกาแล้วเกือบ 1,300 ราย ในหลายประเทศทั่วโลก

ทั้งนี้หากดูตามกฎเกณฑ์ของ WHO แล้วจะพบว่ามีบางโรคที่ขัดแย้งกับกฎระเบียนของ WHO เช่น ไข้หวัดหมู เป็นต้น

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป